7 เทรนด์มาแรงของ DIGITAL MARKETING ที่น่าจับตามองในปี 2021
7 เทรนด์มาแรงของ DIGITAL MARKETING ที่น่าจับตามองในปี 2021
เมื่อความโกลาหลในปี 2020 ได้ผ่านพ้นไป ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมองไปข้างหน้าว่าเราจะสามารถคาดหวังอะไรได้บ้างในอีก 12 เดือนถัดจากนี้ ถ้าจะให้พูดถึงปี 2020 สั้น ๆ คงต้องบอกว่ายากจะคาดเดา ซึ่งหมายความว่า
เทรนด์บางอย่างซึ่งมีการณ์คาดการว่าจะมาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดนั้นได้หายวับไปกับตา และเทรนด์อื่น ๆ ที่เหลือก็ไปต่อไม่ได้อีกเลย ในสถานการณ์ที่ต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้รวมถึงการปรับรูปแบบตามสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ทำการตลาดนั้น ๆ
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด ก็คือธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เด่นพุ่งขึ้นมา ผู้คนต่างใช้เวลากันมากขึ้นบนโซเชี่ยลมีเดีย และรูปแบบการประชุมออนไลน์ก็กลายเป็นวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ซึ่งสิ่งนี้เป็น ทิศทางหลักของการเชื่อมต่อไปยังลูกค้าของแบรนด์ต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะที่เรากำลังจะข้าวเข้าสู่ปีใหม่ เทรนด์การตลาดอะไรที่จะยังคงสามารถไปต่อได้ในปี 2021? นี่คือเทรนด์หลัก ๆ ที่ควรพิจารณา
การทำ Live-Streaming และเพิ่ม content ของบรรดา Influencer
การอยู่กับบ้านหมายความว่างานอีเว้นท์ถูกยกเลิก และลูกค้าก็ไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานแบบตัวเป็น ๆ ได้ พวกเขาทำไม่ได้แม้แต่จะออกไปสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัวด้วยซ้ำ สิ่งนี้เลยทำให้คนจำนวนหนึ่งหันไปใช้แฟลตฟอร์มของการ Live-Streams ไม่ว่าจะเป็นการไล้ฟ์จากเจ้าของแบรนด์สินค้าเอง การไล้ฟ์จากคนดังที่พวกเขาชื่นชอบ หรือจะเป็นการทำ workshop ก็ตาม
ในช่วงล็อกดาวน์นั้น ปริมาณการไล้ฟ์บนเฟสบุ้คได้เติบโตขึ้นสูงถึง 50% ในขณะที่การรับชมบนอิสตาแกรมลากขึ้นไปสูงถึง 70% และ มีการใช้ Tiktok ในกรทำการตลาดในช่วงปี 2020 ซึ่งมันมีโอกาสดี ๆ ที่เราจะเห็นวงโคจรนี้ดำเนินต่อไปในปี 2021 ซึ่งกลุ่มคนที่สร้างสรรค์คอนเทนต์อย่างบรรดา Influencer นั้นสามารถสร้างความเชื่อถือ และเข้ามาสู่ช่วง “เวลาทอง” ของความต้องการของผู้บริโภคในช่วงปี 2020
แบรนด์ต่างๆ มีความเป็นมิตรและมีแรงขับมากขึ้น ในการทำ Mission
มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้คนจะรู้สึกคอนเนคกับแบรนด์ที่ไม่โปรงใส หรือ ไม่จริงใจ ทำไมพวกเค้าถึงอยากจะลงทุนกับบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาไม่ไว้ใจหรือไม่เชื่อล่ะ? คอนเนคชั่นเลยเป็นสิ่งที่สำคัญต่อแบรนด์ที่ต้องการจะคงแหล่งความน่าเชื่อถือไว้ต่อในปี 2021
และในช่วงเวลานี้ บรรดาแบรนด์ต่าง ๆ ก็พยายามที่จะหาวิธีรับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นกันมากกว่าเดิม รายงานจาก Deloitte ได้กล่าวไว้ว่า ในการนี้ แบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้อง “ปรับจูนกันขนานใหญ่ ว่าแบรนด์ของตนนั้นมีขึ้นเพื่ออะไร และจะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างไร”
สำหรับเรา ๆ คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นบรรดาแบรนด์ลุกขึ้นมาทำสิ่งดี ๆ ซึ่งมันจะยิ่งมีมากขึ้นไปกว่านี้อีกในปีหน้า เราน่าจะได้เห็นแบรนด์ใหญ่ ๆ หันมาทำแคมเปญแบบ Hilton อย่าง Hilton’s #HotelsForHeroes ที่ได้สละห้องพักของโรงแรมสำหรับการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ หรือ การที่แบรนด์ชาแนลได้ออกมาระดมทุนเพื่อการช่วยเหลือจากวิกฤติโควิด ด้วยภาระกิจหน้ากากผ้าไร้รอยตะเข็บ
UGC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Customer Experience
ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าประสบการณ์ร่วมของลูกค้าอีกแล้ว บรรดาลูกค้านั้นต่างก็คาดหวังประสบการณ์ที่เรียบง่ายแต่น่าจดจำในการใช้บริการหรือสินค้า เพราะพวกเขาต้องการที่จะพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนที่จะซื้อและต้องการย้ำความมั่นใจนั้นอีกครั้ง กล่าวคือไม่มีใครที่อยากตัดสินใจพลาด
User Generate Content หรือ UGC ได้ตอบทุกโจทย์ที่เกี่ยวกับคอนเทนต์ที่สามารถเชื่อมแบรนด์กับลูกค้าได้
มันช่วยสร้างและเสริมความแข็งแกร่งให้ความเป็นชุมชน
มันช่วยเพิ่มประสบการณ์ร่วมที่คล้าย ๆ กันของผู้บริโภค
มันช่วยทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วได้มากขึ้น
มันช่วยทำให้แบรนด์สามารถทำคอนเทนต์ได้อย่างมหาศาล ในช่วงที่มีมาตรการให้ทุกคนกักตัวอยู่บ้าน
UGC จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้าซึ่งสามารถพิสูจน์คุณภาพได้จริงผ่านทางโซเชี่ยลมีเดีย และนี่ก็จะกลายเป็นเรื่องที่คุ้นเคยต่อเนื่องมาในปี 2021 ด้วย
digital marketing trend
การมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน
“มีผู้บริโภคมากถึง 81% ที่รู้สึกว่าบริษัทต่าง ๆ ควรที่จะช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อม”
ซึ่งนี่ไม่ใช่ตัวเลขที่น่าประหลาดใจ ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นแบรนด์ที่กำลังเติบโตหลาย ๆ แบรนด์มุ่งไปที่การมีอนาคตที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ บรรจุภัณฑ์ ระบบต่าง ๆ และอื่น ๆ การรณรงค์ในเรื่องโลกสีเขียวยังคงดำเนินต่อไป และผู้บริโภคก็มองหาแบรนด์ที่มีเป้าประสงค์ และ จิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก เพราะโลกของเราบอบช้ำมาก ซึ่งนี่จะเป็นสิ่งที่แบรนด์คงได้มีโอกาสออกมาตอกย้ำเรื่อย ๆ ในเรื่องความยั่งยืนในปี 2021
ความครอบคลุมคือกุญแจสำคัญ
ความครอบคลุมได้กลายมาเป็นจุดโฟกัสที่ใหญ่ขึ้นในปี 2021 การที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องการเหยียดสีผิวได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทิ้งบางอย่างไว้ให้กับสังคม
จากการศึกษาของ Accenture พบว่า วัฒนธรรมที่ส่งผลในวงกว้างสามารถส่งผลกระทบไปยังพฤติกรรมการซื้อ มีผู้บริโภคจำนวน 41% เลือกที่จะไม่อุดหนุนร้านค้าปลีกที่ไม่เข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหากหลาย และ 29% เต็มใจที่จะเปลี่ยนแบรนด์ในทันทีหากว่าไม่มีความหลากหลายให้เลือกสรร
ส่วนแบรนด์ที่ชัดเจนในตัวอยู่แล้วว่าไม่มีความครอบคลุม หรือ ใครก็ตามที่ไม่พูดถึงในเรื่องของการกระจายบริการในวงกว้างย่อมได้รับผลกระทบในปี 2021 ในทางกลับกัน แบรนด์ที่เปิดตัวว่าตนนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับตลาดในวงกว้างก็จะสามารถโกยกำไรและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้ซื้อได้มากขึ้น
เพิ่มปริมาณการถูกเสริ์ชเจอ ทั้งการพิมพ์และรูปแบบเสียง
มีจำนวนลูกค้าที่เสริ์ชหาสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น อย่าง Alexa เพิ่มมากขึ้น นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าผู้คนนั้นอยู่แต่ในบ้านและออกไปไหนไม่ได้ เลยทำให้พวกเค้าถูกจำกัดในเรื่องการสนทนา หรือ อาจจะเป็นเพราะเทคโนโลยีประเภทนี้ให้การตอบสนองที่ทันใจกว่า (ประมาณหนึ่งในสี่ของบ้านชาวอเมริกัน ก็จะมี smart speaker ที่ใช้งานคล้าย ๆ กันนี้)
แต่การเสิร์ชด้วยเสียงนี้จะยังคงไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ในปี 2021 เราน่าจะได้เห็นรูปแบบการเสิร์ชที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาในรูปแบบอื่น ๆ ที่กำลังมา อย่างเช่นการเสิร์ชด้วยรูปภาพ
Tools อย่างระบบ google lens สามารถช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเสิร์ชหาสิ่งที่เห็นได้ นั่นหมายความว่าตลาด ณ ปัจจุบันจะต้องโฟกัสไปที่รูปภาพให้มากกว่าเดิม อย่างเช่น alt-text และ sitemaps สำหรับรูปภาพ ซึ่งในปีถัด ๆ ไป รูปภาพจะยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสมรภูมิของการทำ SEO
เนื้อหาที่เข้าใจง่าย
ในปี 2020 เราได้เห็นผู้คนเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากคอนเทนต์ที่เข้าใจง่ายด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Podcast ที่สามารถฟังไประหว่างการเดินทางได้ หรือ News letter ที่ส่งตรงมายังอีเมล์ของบรรดา Subscriber
จากผลการศึกษาพบว่า ชาวอเมริกันฟัง Podcast กันมากถึง 55% ในขณะที่ News letter นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 14% ในช่วง lockdown โฆษณาต่าง ๆ หันไปทำการตลาดกันใน podcast มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของความสำเร็จที่จะมีอย่างต่อเนื่องของพวกเขาในปี 2021
คอนเทนต์ที่สะดวกและพร้อมเสพอย่าง Podcast และ News letter นั้นจะช่วยทำให้แบรนด์สร้าง connection กับลูกค้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นและยังสามารถสร้างช่องทางที่ใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อรักษาการติดต่อซึ่งกันและกัน ลองดูอย่าง Nisolo สิ ที่ใช้ News Letter ในการเชื่อมต่อกับลูกค้าของตนและกลับไปเช็คดู ก่อนที่จะจัดเตรียมช่องทางที่ลูกค้าสามารถที่จะซื้อหาสินค้าได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ