ราคาเหล็ก สูงขึ้นเพราะอะไร?
เนื่องจากวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กเป็นสินค้าปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเช่นเดียวกับสินค้าบริโภคภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างเช่น น้ำมัน หรือข้าวสาร ทำให้ราคาเหล็มีการปรับเปลี่ยนตามกำลังการผลิตและความต้องการของผู้คนบนโลก หากใครที่มีสามารถในการควบคุมการบริโภค และการผลิตของโลกได้ย่อมสามารถควบคุมราคาเหล็กได้เช่นกัน
ใครกันที่สามารถควบคุมราคาเหล็กของโลกได้ ?
อย่างที่พวกเรารู้กันว่าจีนเป็นประเทศที่ได้รับฉายาว่าเป็นโรงงานของโลกไม่เว้นแม้แต่สินค้าประเภทเหล็ก ด้วยศักยภาพกำลังการผลิตที่หมาศาล โดยตั้งแต่ปี 2543 ประเทศจีนมีการเปิดโรงงานผลิตเหล็กเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จากแรงสนับสนุนของภาครัฐ เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและความต้องการภายในประเทศ รวมถึงรัฐบาลจีนมองว่าสินค้าเหล็กเป็นความมั่นคงทางอุตสหกรรมของประเทศ หากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นก็คงจะเป็นอุตสหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง
จากการที่มีรัฐบาลจีนสนับสนุนการส่งออกสินค้าประเภทเหล็กกระจายไปทั่วโลก เพื่อรักษาราคาต้นทุนในการผลิต ส่งผลให้ราคาเหล็กทั่วโลกลดต่ำลงเป็นอย่างมาก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งทำให้โรงผลิตเหล็กของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแข่งขันด้านราคาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงปลายปี 2562 – ต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้เกิดการปิดตัวของโรงงานในจีนจำนวนมากจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาลจีน รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศ ส่งผลให้ราคาเหล็กตกต่ำอย่างหนัก
ทำไมปี 2564 ราคาเหล็กถึงแพงขนาดนี้ละ ?
ช่วงระยะเวลาไม่นานหลังจากที่รัฐบาลจีนออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสในประเทศ จนทำให้สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความคืบหน้าของข่าววัคซีน ทำให้เกิดความเชื่อมั่น และสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังส่งเสริมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศในด้านด่าง ๆ รวมถึงการระงับมาตรฐานช่วยเหลือการส่งออกของสินค้าเหล็ก ส่งผลให้ราคาเหล็กกลับมาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังหันมาใส่ใจกับคุณภาพและมาตรฐานของอุตสหกรรมในประเทศ ส่งผลให้ในหลาย ๆ โรงงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดถูกสั่งให้ลดกำลังการผลิตลงไปในหลาย ๆ แห่ง ทำให้กำลังการผลิตเหล็กภายในประเทศลดลงอย่างมาก แต่ความต้องการใช้เหล็กจากทั่วโลกยังมีอยู่มากเมื่อเทียบกับกำลังผลิตที่ลดลงไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปัญหาการส่งออกที่ได้รับผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้ในปี 2564 นี้ แนวโน้มของราคาเหล็กยังคงปรับตัวสูงขึ้น และไม่มีทีท่าจะหยุดลง
สรุป 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ราคาเหล็ก ที่สูงขึ้นในปี 2564
ความต้องการใช้สินค้าเหล็กสูงกว่ากำลังการผลิต
เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และการลดกำลังการผลิตของโรงงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในประเทศจีน
ต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน (เงินดอลลาร์แข็ง เงินบาทอ่อนตัวลง)
การยกเลิกมาตรการสนับสนุนการส่งออกของประเทศจีน ภาษี (Tax Rebate 13%) ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกจากจีนสูงขึ้น
ค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19
จากสถานการณ์ปัจจุบันไม่มีใครรู้ว่า ราคาเหล็ก จะพุ่งสูงขึ้นหรือลดต่ำลงเมื่อไร ผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังวางแผนการก่อสร้างควรวางแผนในการจัดซื้อและติดตามสถานการณ์ของเหล็กอย่างสม่ำเสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการก่อสร้าง พี ๆ สามารถติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างได้ที่