เศรษฐกิจภาครัฐ-เอกชนที่ยั่งยืน
เม็ดเงินลงทุนภายในประเทศภาพรวมปี 2565 ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินลงทุนจาก นักลงทุนต่างประเทศ กว่า 1.12 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในบ้านเรามากที่สุดก็ยังเป็น นักลงทุนญี่ปุ่น เหตุผลหนึ่งก็เพราะสภาพภูมิประเทศ ความคุ้นเคยและความเป็นมิตร ระหว่างทั้งสองประเทศที่มีการลงทุนร่วมกันมานาน ที่เหลือจะเป็นนักลงทุนรายใหม่ อาทิ จีน กลุ่มชาติตะวันออกกลาง อินเดีย ไต้หวัน ฮ่องกง สหรัฐฯ ยุโรป โครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ และเงื่อนไขการลดก๊าซเรือนกระจก ก็ยังเป็นแรงจูงใจในการลงทุนอยู่เหมือนเดิม
การลงทุนคงจะต้องแยกจาก นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ กับ แรงงานมีฝีมือ ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของการลงทุนด้วย ประเภทแรงงาน ลูกจ้างรายวัน จะต้องมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องเป็นไปอย่างสมดุล
อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มากที่สุดหนีไม่พ้น อุตสาหกรรมพลังงาน เทคโนโลยี อาหาร ยารักษาโรค ซึ่งในอนาคตการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศที่มั่งคั่งทางพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันก็ได้ อาจจะเป็นพลังงานในอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไฮโดรเจน พลังงานไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ซึ่งจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ในสัดส่วนที่มากขึ้น